Master Form Industry

กระดาษต่อเนื่องคืออะไร?

กระดาษต่อเนื่องคืออะไร กระดาษต่อเนื่องคือกระดาษที่ยาวติดกัน จะมีตั้งแต่ 1 ชั้น จนถึง 10 ชั้นเป็นต้นไป ส่วนมากแล้วเราสามารถพบเห็นกระดาษต่อเนื่องอยู่ในส่วนของเอกสารสำนักงาน และคลังสินค้า ลูกค้าส่วนมากที่ใช้กระดาษต่อเนื่องจะเป็นลูกค้าลูกค้า องค์กร หรือนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยเอกสารที่เราคุ้นเคยจะมีใบกำกับภาษี ใบวางบิล ใบส่งสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบเพิ่มลดหนี้ และเอกสารสำคัญอื่นทางบัญชี ประโยชน์ของการใช้กระดาษต่อเนื่องคือสะดวกรวดเร็ว เพราะเอกสารสามารถออกเป็นชุด โดยพิมพ์ 1 ครั้งสามารถทำสำเนาได้ตามจำนวนชั้นที่ผู้ใช้งานต้องการ และยังสามารถใช้พิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ เพราะข้อมูลหรือเลขที่กำกับเอกสารจะต้องตรงกัน องค์ประกอบและลักษณะของกระดาษต่อเนื่อง ตามที่กล่าวมาข้างต้นกระดาษต่อเนื่องนั้นจะเป็นกระดาษยาวโดยจะถูกพับเรียงกันอยู่ในกล่อง โดยจะมีรูข้างๆกระดาษ หรือที่เรียกว่ารูหนามเตย รูนี้จะถูกใช้ในการนำกระดาษเข้าสู่เครื่องพิมพ์ (ส่วนมากกระดาษต่อเนื่องจะใช้งานกับเครื่องพิมพ์หัวเข็ม หรือเครื่องพิมพ์ Dot Matrix) และจะมีรอยปรุแนวขวางเพื่อแบ่งระยะกระดาษระหว่างชุด และรอยปรุแนวตั้งเพื่อฉีกรูหนามเตยออกเมื่อพิมพ์เอกสารเสร็จแล้ว ปรุนี้สามารถเพิ่มลดได้ตามความต้องการลูกค้าเพื่อตอบสนองความสะดวกในการใช้งาน ชนิดกระดาษ โดยส่วนมากแล้วกระดาษต่อเนื่องจะใช้กระดาษอยู่ 2 ประเภทหลักๆคือ กระดาษปอนด์ และกระดาษเคมี กระดาษปอนด์นั้นมักจะใช้กับงานที่มีจำนวนตั้งแต่ 1 ชั้นถึงประมาณ 4 ชั้น เนื่องจากกระดาษปอนด์ไม่มีความสามารถในการส่งต่อภาพพิมพ์จากชั้นบนสู่ชั้นล่างทำให้จะต้องมีการสอดกระดาษคาร์บอนระหว่างชั้น เพื่อให้ภาพพิมพ์ชั้นบนส่งต่อภาพลงสู่ชั้นล่างถัดไป ส่วนกระดาษเคมีจะเหมาะกับงานจำนวนตั้งแต่ […]

กระดาษต่อเนื่องคืออะไร
กระดาษต่อเนื่องคือกระดาษที่ยาวติดกัน จะมีตั้งแต่ 1 ชั้น จนถึง 10 ชั้นเป็นต้นไป ส่วนมากแล้วเราสามารถพบเห็นกระดาษต่อเนื่องอยู่ในส่วนของเอกสารสำนักงาน และคลังสินค้า ลูกค้าส่วนมากที่ใช้กระดาษต่อเนื่องจะเป็นลูกค้าลูกค้า องค์กร หรือนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยเอกสารที่เราคุ้นเคยจะมีใบกำกับภาษี ใบวางบิล ใบส่งสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบเพิ่มลดหนี้ และเอกสารสำคัญอื่นทางบัญชี ประโยชน์ของการใช้กระดาษต่อเนื่องคือสะดวกรวดเร็ว เพราะเอกสารสามารถออกเป็นชุด โดยพิมพ์ 1 ครั้งสามารถทำสำเนาได้ตามจำนวนชั้นที่ผู้ใช้งานต้องการ และยังสามารถใช้พิสูจน์ว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ เพราะข้อมูลหรือเลขที่กำกับเอกสารจะต้องตรงกัน
องค์ประกอบและลักษณะของกระดาษต่อเนื่อง
ตามที่กล่าวมาข้างต้นกระดาษต่อเนื่องนั้นจะเป็นกระดาษยาวโดยจะถูกพับเรียงกันอยู่ในกล่อง โดยจะมีรูข้างๆกระดาษ หรือที่เรียกว่ารูหนามเตย รูนี้จะถูกใช้ในการนำกระดาษเข้าสู่เครื่องพิมพ์ (ส่วนมากกระดาษต่อเนื่องจะใช้งานกับเครื่องพิมพ์หัวเข็ม หรือเครื่องพิมพ์ Dot Matrix) และจะมีรอยปรุแนวขวางเพื่อแบ่งระยะกระดาษระหว่างชุด และรอยปรุแนวตั้งเพื่อฉีกรูหนามเตยออกเมื่อพิมพ์เอกสารเสร็จแล้ว ปรุนี้สามารถเพิ่มลดได้ตามความต้องการลูกค้าเพื่อตอบสนองความสะดวกในการใช้งาน

ชนิดกระดาษ

โดยส่วนมากแล้วกระดาษต่อเนื่องจะใช้กระดาษอยู่ 2 ประเภทหลักๆคือ กระดาษปอนด์ และกระดาษเคมี กระดาษปอนด์นั้นมักจะใช้กับงานที่มีจำนวนตั้งแต่ 1 ชั้นถึงประมาณ 4 ชั้น เนื่องจากกระดาษปอนด์ไม่มีความสามารถในการส่งต่อภาพพิมพ์จากชั้นบนสู่ชั้นล่างทำให้จะต้องมีการสอดกระดาษคาร์บอนระหว่างชั้น เพื่อให้ภาพพิมพ์ชั้นบนส่งต่อภาพลงสู่ชั้นล่างถัดไป ส่วนกระดาษเคมีจะเหมาะกับงานจำนวนตั้งแต่ 2 ชั้น – 10 ชั้นเพราะกระดาษเคมีมีความสามารถในการส่งต่อภาพพิมพ์จากชั้นบนสู่ชั้นล่างได้โดยไม่ต้องพึ่งกระดาษคาร์บอน ทำให้สามารถซ้อนชั้นสำเนาได้มากกว่ากระดาษปอนด์แล้วยังสามารถนำเข้าใช้งานกับเครื่องพิมพ์ได้
อีกข้อแตกต่างระหว่างกระดาษปอนด์และกระดาษเคมีคือสีกระดาษ กระดาษปอนด์จะมีเพียงสีขาว ส่วนกระดาษเคมีมี 5 เฉดสีด้วยกันได้แก่ สีขาว สีเหลือง สีเขียว สีชมพู และสีฟ้า นี่เป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะที่ทำให้กระดาษเคมีมีความนิยมมากกว่ากระดาษปอนด์ ตัวอย่างเช่นบริษัท ก. ออกเอกสารใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารชุดเดียวกัน เมื่อเจ้าหน้าที่ไปวางบิลกับลูกค้า เพื่อเป็นการง่ายต่อการสื่อสารและจัดเก็บเอกสาร เจ้าหน้าที่สามารถจดจำสีกระดาษโดยอาจจะระบุว่ากระดาษชั้นที่เป็นสีขาวและกระดาษชั้นที่เป็นสีชมพูเป็นของลูกค้า และสีที่เหลือต้องนำกลับบริษัทนำส่งให้แผนกที่เกี่ยวข้อง และนี่คือความสะดวกในการจำแนกเอกสารและลดความผิดพลาดเอกสารสลับระหว่างบริษัทและลูกค้า สุดท้ายคือเรื่องของขนาดหรือไซส์งาน โดยปกติแล้วขนาดที่พบเห็นมากได้แก่ขนาด 9” x 11” 9” x 12” 9.5” x 11” 9.5” x 12” 15” x 11” 9” x 5.5” 9.5” x 5.5” โดยวิธีวัดขนาดงานเราจะวัดตั้งแต่ขอบซ้ายสุดรวมรูหนามเตยด้านซ้ายไปจนถึงขอบกระดาษสุดขอบด้านขวา และจะวัดจากรอยปรุระหว่างชุดแนวขวางลงมาถึงรอยปรุแนวถัดไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save
Shopping cart close